เมนู

(ขันธ์6 พวกเดียรถีย์บัญญัติขึ้น) แต่ตรัสถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย มีเท่าไรในความ
เป็นไปในระหว่างแห่งภูมิจำเดิมตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึง ภวัคคภูมิ คนอื่น
ชื่อว่า สามารถเพื่อจะกล่าวว่าขันธ์ 5 ดังนี้ มิได้มี เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงกำลังแห่ง
พระญาณของพระองค์ จึงตรัสคำวิสัชนาอันสมควรแก่คำถามว่า ปญฺจกฺขนฺธา
ดังนี้ ก็บัณฑิตย่อมเรียกคำวิสัชนาตามคำถามในพระกำลังแห่งญาณนี้ว่า ชื่อว่า
สัพพัญญพยากรณ์ ดังนี้. ในคำทั้งหลาย แม้มีคำว่า อายตนะ 12
เป็นต้นก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น
โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธ์วิภังค์เป็นต้น.

อธิบายอุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระที่ 2


ในวาระที่ 2

ธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วใน
กามธาตุในกามภพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายอันนับ
เนื่องกัน และไม่นับเนื่องกันในกามธาตุเหล่านั้นแล้ว ตรัสคำว่า กามธาตุยา
ปญฺจกฺขนฺธา
เป็นต้น. แม้ในรูปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็เพราะอายตนะ
ทั้งหลายมีคันธายตนะเป็นต้น ย่อมไม่ทำกิจแห่งอายตนะเป็นต้น เพราะความไม่
มีฆานายตนะเป็นต้น ของพรหมทั้งหลายผู้นับเนื่องในรูปธาตุ ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า รูปธาตุยา ฉ อายตนานิ นว ธาตุโย ดังนี้
เป็นต้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ธาตุที่ไม่นับเนื่องด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่า
ด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ ย่อมไม่มี เหตุใดเพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสคำว่า อปริยาปนฺนธาตุยา ดังนี้ เพื่อแสดงซึ่ง
ธาตุใด ๆ อันไม่นับเนื่องแล้วนั้น ๆ นั่นแหละ จึงตรัสว่า อปริยาปนฺเน
กติ ขนฺธา
เป็นต้น (แปลว่า ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่อง).

อธิบายปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระที่ 3


ในวาระที่ 3

คำว่า กามธาตุปริยาปนฺนา อธิบายว่า ชื่อว่า
ปริยาปันนา เพราะอรรถว่า การเสพซึ่งกามธาตุ อาศัยกามธาตุ อยู่ภายใน
กามธาตุนั้น หยั่งลงสู่กามธาตุนั้น จึงถึงซึ่งการนับว่า เป็นกามธาตุนั่นแหละ.
แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้. คำว่า ปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำกำหนด
ธรรมเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งภพ และด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่าด้วย
สามารถแห่งการเกิดขึ้นแห่งสัตว์. คำว่า อปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำไม่
กำหนด เหมือนอย่างนั้น.

อธิบายวิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระที่ 4


ในวาระที่ 4

คำว่า เอกาทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ 11
เว้นสัททายตนะ. จริงอยู่ สัททายตนะนั้น ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ
แน่แท้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ในที่นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้า มิได้ตรัสคติแห่งเทพและอสูร ในหมวดทั้ง 7 ในวาระนี้ แต่ตรัส
คติแห่งคัพภเสยยกะทั้งหลายไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
คัพภเสยยกะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นที่ใด ๆ อายตนะของเทพและอสูรทั้งหลาย
เหล่านั้นย่อมเกิดในที่นั้น ๆ. ธาตุทั้งหลาย ก็อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อธิบายทัสสนวาระที่ 5


คำใด ที่จะพึงกล่าวในวาระที่ 5 คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน
อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะนั่นแหละ.